วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การแข่งขันกิจกรรมร้องเพลงชาติไทยหมู่ 10  คน
โรงเรียนบ้านหนองจานใต้ สพป.นม เขต 7
ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ ลำดับที่ 2
ของจังหวัดนครราชสีมา




รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                   หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช  2545  (ปรับปรุง  2546)  เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  หลังมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อพัฒนากำลังคนระดับฝีมือให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน  มีคุณธรรม  บุคลิกภาพและเจตคติที่เหมาะสม  สามารถประกอบอาชีพได้ตรงตาม
ความต้องการของตลาดแรงงาน  และการประกอบอาชีพอิสระ  สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ  เปิดโอกาสให้เลือกเรียนได้อย่างกว้างขวาง  เพื่อเน้น
ความชำนาญเฉพาะด้านด้วยการปฏิบัติจริง  สามารถเลือกวิธีการเรียนตามศักยภาพและโอกาสของผู้เรียน  (กรมอาชีวศึกษา.    2546  :  1)  การเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545  (ปรับปรุง  ..  2546)  เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียนทั้งทางด้านความรู้  ทักษะ  กระบวนการ  คุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยม
มีลักษณะเป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตร และมีสาระการเรียนรู้เป็นตัวกำหนดองค์ความรู้ที่เป็นเนื้อหาสาระ  ครอบคลุมการจัดการเรียน
การสอนระดับชั้น  ปวช. 1–3  และเพื่อให้สถานศึกษา  ครูผู้สอน  และผู้เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตามความเหมาะสมของผู้เรียน  ความต้องการของชุมชน  ท้องถิ่นและผู้ปกครอง หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรม  ศิลปกรรม  คหกรรมและเกษตรกรรม  เป็นการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ซึ่งเทียบเท่ากับช่วงชั้นที่  4 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4–6  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งระบุไว้ว่า  การจัดการศึกษาบางประเภท  ที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่การศึกษาทางด้านศาสนา ดนตรี  นาฎศิลป์  กีฬา  อาชีวศึกษา  การศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านต่าง    การศึกษาสำหรับ
ผู้บกพร่องในด้านต่าง    ผู้มีความสามารถพิเศษ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาทางเลือกที่จัดโดยครอบครัวและองค์กรต่าง    การจัดการศึกษาเหล่านี้สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด  (กรมอาชีวศึกษา.    2545  :  1–3)
                   โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต  3 
เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่  เปิดการเรียนการสอน  3  หลักสูตร  คือ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ส่วนการจัดการเรียน
การสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  สาขาวิชาพณิชยการ  สาขางานการบัญชี  เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปีพุทธศักราช  2533  โดยรับนักเรียนชั้นปีที่  1-3  จำนวนชั้นละ  1  ห้องเรียน  ครูจำนวน  6  คน  และนักเรียนจำนวน  124  คน  ในปีการศึกษา  2550  ได้จัด
การเรียนการสอน  ในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ  ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่ต้องศึกษา  และปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้ในแบบของบุคลิกภาพ  สุขอนามัย  ศิลปการแต่งกาย  กิริยาท่าทาง  การฝึกให้เกิดกิจนิสัยและทักษะในการแสดงกิริยามารยาท  (กรมอาชีวศึกษา.    2546  :  83-84)  มีมาตรฐานการเรียนรู้ที่เน้น
ให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพ  มีทักษะในการป้องกันและดูแลสุขอนามัยของร่างกาย 
                   ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น  สื่อการเรียนการสอนเป็นทรัพยากรหนึ่งที่นำมาใช้
ในระบบการเรียนการสอน  ซึ่งจะต้องใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรม  เวลา  กลุ่ม  และสถานที่  เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุดในเวลาประหยัดที่สุด  (นิพนธ์  ศุขปรีดี.    2528  :  40)
ชุดการสอนเป็นนวัตกรรมที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยคำนึงว่าบุคคลมีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  สติปัญญา  ความต้องการ  ความสนใจ  อารมณ์  ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นการเรียนด้วยตนเอง  ทราบข้อมูลย้อนกลับ  มีการเสริมแรงเรียนรู้ไปตามขั้นตอน  (สุนันท์  สังข์อ่อน.    2526  :  134)  ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจาก
การใช้สื่อ  โดยเขาได้ลงมือกระทำ  ได้สัมผัสด้วยตนเอง  ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้คอยแนะนำให้คำปรึกษา  ในการใช้สื่อการเรียน  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้  และความเข้าใจบทเรียนของวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างแท้จริง  ชุดการสอนถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนองความคิด  การแก้ปัญญา  การทำงานแบบกระบวนการกลุ่ม  เนื่องจากชุดการสอนเป็นการนำเอาสื่อชนิดต่าง ๆ  มาผสมผสานกันให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของแต่ละหน่วยการเรียน  ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้  โดยอาศัยหลักการและทฤษฎีทางการศึกษาหลายอย่างมาช่วย  เช่น  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  และหลักการของการวิเคราะห์ระบบ  เพราะชุดการสอนเป็นการรวมเอาสื่อการสอนมากว่า  1  ชนิด  ขึ้นไปมาจัดไว้อย่างเกี่ยวเนื่องกันในเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว  (ชัยยงค์  พรหมวงศ์.    2523  :  117-118)
                   ปัจจุบัน  ผู้รายงานปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ  พบว่า  ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร  เพราะครูมีเวลาในการเตรียมการสอนน้อย  ครูมักจะสอนแบบบรรยายให้ความรู้  อธิบายให้ผู้เรียนฟัง  ให้ผู้เรียนท่องจำเนื้อหา  หัวข้อ  หลักการจากหนังสือเรียนมากกว่าการเน้นทักษะ  ทำให้ผู้เรียนซึ่งมีพื้นฐาน
ด้านสติปัญญาและความสนใจไม่เท่ากันเรียนรู้ได้ไม่พร้อมกัน  โดยนักเรียนที่เรียนอ่อนจะเรียนไม่ทันนักเรียนที่เรียนเก่ง  หรือนักเรียนที่มีความสนใจจะเรียนได้ดีกว่านักเรียนที่ไม่มีความสนใจ  ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ  ศุลีพร  สายแวว  (2533  :  บทคัดย่อ)  ;  แสงทอง  ตุงคะสมิต  (2544  :  บทคัดย่อ)  ปรากฏว่า  ชุดสื่อประสมหรือชุดการสอน
ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอนและเปรียบเทียบการสอนในลักษณะต่าง ๆ ให้ประสิทธิภาพการเรียนสูงกว่า
วิธีการสอนอื่น  ทำให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  และพบว่านักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการสอนโดยใช้ชุดสื่อประสมหรือชุดการสอน  และยังเสนอแนะให้มีการสร้างชุดสื่อประสมหรือชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพในวิชาอื่น    ในระดับชั้นต่าง ๆ  อีกด้วย 
                   ผู้รายงานตระหนักในความสำคัญของชุดการสอน  ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถศึกษา
ได้หลายครั้งตามแนวความสามารถและความต้องการ  ได้เห็นภาพประกอบสีสันที่สวยงาม  และ
มีความสนใจที่จะเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  นักเรียนได้ใช้ชุดการสอนในการเรียนรู้และทบทวนบทเรียน  จะทำให้นักเรียนสามารถมีความรู้ทันกันได้  นอกจากนี้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ
ตามมาตรฐานการเรียนรู้  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้
ในการพัฒนาบุคลิกภาพ  มีทักษะในการป้องกันและดูแลสุขอนามัยของร่างกาย  ผู้รายงาน
มีความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ให้สนองตอบความแตกต่างของผู้เรียน  และ
เป็นแนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                   1.  เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ 
ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80   
                   2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
                   3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ                          
ความสำคัญของการศึกษา
                   1.  ได้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  ที่สามารถนำไปประกอบกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ
ในการเรียนรู้  พัฒนาตนเองได้  และผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
                  2.  เป็นแนวทางสำหรับนักการศึกษาตลอดจนครูผู้สอนได้พิจารณานำชุดการสอนไปใช้  หรือนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา  ระดับชั้น  วัย  ความสามารถ  และความสนใจ
ของผู้เรียนในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้  เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
                   3.  เป็นแนวทางในการนำความคิดใหม่    ทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
มาพัฒนาการเรียนการสอน  เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของครูผู้สอน

สมมติฐานการศึกษา
        นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ที่เรียนด้วยชุดการสอน
แบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2 
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการศึกษา

                         ขั้นการสร้างและทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ
                               1.1  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) 
ชั้นปีที่  2  สาขาวิชาพณิชยการ  สาขางานการบัญชี  โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก  สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต  3  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  47  คน
                         ขั้นการทดลอง
                                1.2  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) 
ชั้นปีที่  2  สาขาวิชาพณิชยการ  สาขางานการบัญชี  โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก  สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต  3  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  40  คน  ได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)                                            
                   2.  เนื้อหาที่นำมาสร้างชุดการสอน  เป็นเนื้อหา  เรื่อง  การพัฒนาบุคลิกภาพ 
ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช  2545 
(ปรับปรุง  ..  2546)  ในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2550  ซึ่งมีเนื้อหาย่อย  ดังนี้
                         ชุดการสอนที่  1         เรื่อง       ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
                         ชุดการสอนที่  2         เรื่อง       บุคลิกภาพภายนอก
                         ชุดการสอนที่  3         เรื่อง       ธรรมะกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
                         ชุดการสอนที่  4         เรื่อง       สารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
                         ชุดการสอนที่  5         เรื่อง       การออกกำลังกาย
                         ชุดการสอนที่  6         เรื่อง       การแต่งกายเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
                         ชุดการสอนที่  7         เรื่อง       การแต่งกายของสุภาพบุรุษ
                         ชุดการสอนที่  8         เรื่อง       มารยาทในการปฏิบัติต่อบุคคลทั่วไป
                         ชุดการสอนที่  9         เรื่อง       มารยาทในการปฏิบัติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
                                                                                และสถาบันศาสนา
                         ชุดการสอนที่  10       เรื่อง       ทักษะในการแสดงกิริยามารยาท
                   3.  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 
                         การทดลองครั้งนี้  ผู้รายงานได้ดำเนินการในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน  โดยใช้เวลาการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แผนละ 
2  ชั่วโมง  จำนวน  10  แผน  เพื่อหาข้อบกพร่องและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงชุดการสอน
ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน  แล้วนำชุดการสอนที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานมาทดลองใช้ในภาคเรียนที่  1     ปีการศึกษา  2550  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
                   4.  ตัวแปร
                         4.1  ตัวแปรต้น  ได้แก่  การสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
                         4.2  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ 
ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2

นิยามศัพท์เฉพาะ

                   1.  ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  หมายถึง  นวัตกรรมทางการศึกษา  ได้แก่  สื่อ  อุปกรณ์  รวมถึงการจัดกระบวนการเรียนการสอน  โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง  เพื่อค้นหาวิธีการ  กระบวนการ  สามารถสรุปได้ด้วยตนเอง  ซึ่งครูเป็นเพียงผู้คอยแนะนำ  ดูแลให้ความสะดวก  และจัดสื่อการเรียนไว้ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละชุดการสอน  ชุดการสอน
แต่ละชุดนั้น  อาจจัดเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อย  เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   2.  ประสิทธิภาพของชุดการสอน  หมายถึง  คุณภาพของชุดการสอนด้านกระบวนการและผลลัพธ์  ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น  ซึ่งวิเคราะห์จากคะแนนแบบทดสอบย่อยของแต่ละชุดการสอนกับคะแนนแบบฝึกปฏิบัติ  และคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ตามเกณฑ์  80/80
                         80  ตัวแรก  หมายถึง  ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนสามารถทำคะแนนแบบทดสอบย่อยของแต่ละชุดการสอนกับคะแนนแบบฝึกปฏิบัติ  ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ  80  ถือเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการ
80  ตัวหลัง  หมายถึง  ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จากการทำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนแล้ว  ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ  80  ถือว่าเป็นประสิทธิภาพของผลลัพธ์
                   3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หมายถึง  คะแนนความรู้  ความเข้าใจ  ความสามารถ
ในการเรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2  ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) 
ชั้นปีที่  2  วัดได้จากคะแนนในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
                   4.  ความพึงพอใจ  หมายถึง  ความรู้สึกชอบและพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2            
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   1.  ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน  รายวิชา  การพัฒนาบุคลิกภาพ  ระดับ  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  ชั้นปีที่  2              
                   2.  เป็นแนวทางในการสร้างชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนในเรื่องอื่น ๆ 
3.  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของครู
4.  เป็นการเปลี่ยนบทบาทของครู  จากครูผู้สอนมาเป็นผู้สร้างสถานการณ์  เป็นผู้ดำเนินการ
และเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่นักเรียน
5.  เป็นการกระตุ้นและเสริมแรงความคิดในอันที่จะวิจัยเด็ก  เพื่อสร้างสื่อนวัตกรรม
มาช่วยแก้ปัญหา  เพิ่มความรู้ให้กับผู้เรียน

                   6.  ผู้เรียนได้รับความรู้  เรื่อง  การพัฒนาบุคลิกภาพ  มากขึ้น
                   7.  ผู้เรียนเรียนรู้จากชุดการสอนอย่างสนุกสนาน
                   8.  ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
                   9.  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เองได้เมื่อครูไม่อยู่